โลโก้ หน่วยการเงินทดรองจ่าย

หน่วยการเงินทดรองจ่าย

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


โลโก้หน่วยงาน
มหาวิทยาลัยนเรศวรแถลงข่าวประจำเดือนมกราคม 2564 คณะแพทย์ ม.นเรศวร สร้างอนาคตสุขภาพด้านการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท (Telemedicine) แห่งแรกในประเทศไทยด้วยเครือข่าย 5G (ดู 3021 ครั้ง)
 

วันนี้ (12 ม.ค.64) เวลา 10.30 น. มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดงานแถลงข่าวสื่อมวลชนประจำเดือน ณ ห้องเสลา 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมีประเด็นการแถลงข่าว 3 เรื่อง ได้แก่ 1.คณะแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร สร้างอนาคตสุขภาพด้านการแพทย์ทางไกลในชนบท (Telemedicine) ด้วยเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง 5G แห่งแรกในประเทศไทย 2.นักวิจัยคณะเภสัชศาสตร์สร้างเครื่องมือ NU Spiro Breathe ตรวจการได้รับกลิ่นช่วยแยกโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 3.คณาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ พัฒนาเครื่องช่วยบริหารยาหยอดตาเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ COVID-19

ในการนี้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์บดินทร์ บุตรธรรม รองคณบดีฝ่ายบริหารและพัฒนานวัตกรรม และ อาจารย์นายแพทย์สุรัตน์ วรรณเลิศสกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ได้ร่วมกันแถลงข่าวในประเด็น คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ล้ำหน้าสร้างอนาคตสุขภาพด้านการแพทย์ทางไกลในชนบท (Telemedicine) ด้วยเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง 5G แห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งได้เริ่มนำไปใช้แล้วกับ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ และกำลังจะนำไปใช้กับโรงพยาบาลสุโขทัย  นับเป็นความสำเร็จที่ได้จากการลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร กับ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (National Telecom Public Company Limited : NT) (เดิมคือบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ก่อนควบรวมกิจการกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ตามมติคณะรัฐมนตรี

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า “ความห่างไกล และความขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในชนบท  การเข้าถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ไม่เท่าเทียมกัน เป็นโจทย์ใหญ่ที่เป็นแรงบันดาลใจให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรสร้างบริการทางการแพทย์ที่เรียกว่าTelemedicine หรือ การบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท”โดยนำการแพทย์ผนวกกับเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงมาใช้เพื่อประโยชน์ต่อการให้คำปรึกษาทางไกลระหว่างแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับบุคลากรทางการแพทย์ในชนบท ได้ร่วมมือรักษาผู้ป่วยได้แบบทุกที่ ทุกเวลา ทั้งนี้ได้นำร่องสำหรับกรณีผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะโรคหัวใจระหว่างโรงพยาบาลอุตรดิตถ์และกำลังจะนำไปใช้กับโรงพยาบาลสุโขทัย

Telemedicine การบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ได้แก่

1.Hololens คือ แว่นแสดงภาพ 3 มิติ ผนวกรวมความจริงกับความจริงเสมือนและโปรแกรมทางการแพทย์ โดยผู้สวมใส่ทั้งสองฝั่งจะมองเห็น ได้ยิน และเรียกดูข้อมูลจากแฟ้มผู้ป่วยได้ เสมือนกำลังนั่งตรวจคนไข้อยู่ในห้องเดียวกัน ทำให้การปรึกษาระหว่างอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับแพทย์ที่อยู่ห่างไกลในภาวะฉุกเฉินสามารถทำได้ทันที

2.Haptics เช่น Haptics for Echocardiogram คือ อุปกรณ์สำหรับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการตรวจผู้ป่วยโรคหัวใจแม้อยู่ห่างไกลโดยสื่อสารกับแพทย์ที่อยู่หน้างานให้วางอุปกรณ์ตามคำแนะนำเพื่อหาสาเหตุของโรคหัวใจช่วยในการวางแผนการรักษาการตัดสินใจของแพทย์เจ้าของไข้ว่าจะต้องส่งตัวไปโรงพยาบาลใหญ่หรือไม่ หากสามารถรักษาได้ก็จะทำให้ผู้ป่วยและครอบครัว ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปโรงพยาบาลใหญ่ในเขตเมือง คุณภาพชีวิตผู้ป่วยและครอบครัวก็จะไม่ลำบาก

นอกจากนี้ทางคณะแพทยศาสตร์ยังได้รับการสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ให้จัดทำโครงการเพิ่มศักยภาพการให้บริการสุขภาพ รองรับการระบาดของโรค COVID-19

ระยะแรก ได้ปรับปรุงห้องผู้ป่วยเดิมให้เป็นห้องแรงดันลบ (Negative Pressure Room) โดยนำเทคโนโลยีไร้สาย IoT (Internet of things) มาใช้ในการบันทึกการวัดสัญญาณชีพ แบบทันที ต่อเนื่อง จากห้องผู้ป่วย พร้อมเชื่อมโยงกับระบบ Telemedicine เพื่อให้แพทย์ พยาบาลสามารถดูข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ป่วยได้แบบปัจจุบัน (Real time)

ระยะที่สอง พัฒนาระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติสำหรับคัดกรองผู้ป่วย ณ คลินิกผู้ป่วยนอกและติดตามอาการผู้ป่วยที่แผนก ICU และ Cohort Ward โดยได้สร้างหอผู้ป่วยรวมชนิดแรงดันลบ (Cohort Ward)จำนวน 8 เตียง ที่หอผู้ป่วยชั้น 5 อาคารสิรินธร โดยจะเปิดให้บริการได้ในวันที่ 18 มกราคม 2564  เพื่อลดความเสี่ยงการสัมผัส และเพิ่มการรักษาระยะห่างระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย โดยยังคงให้การดูแลอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ในการนี้โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดสถานที่ให้บริการผู้ป่วยโรคโควิด-19 แบบ One Stop Service โดยเปิดคลินิกโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน/โรคหวัด หรือ ARI Clinic (Acute Respiratory Infection Clinic) ด้านหน้าอาคาร เพื่อลดความเสี่ยงในการเข้าปะปนกับผู้ป่วยอื่นในโรงพยาบาล

สำหรับประเด็นที่สอง เรื่อง นักวิจัยคณะเภสัชศาสตร์สร้างเครื่องมือ NU Spiro Breathe ตรวจการได้รับกลิ่นช่วยแยกโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ผู้แถลงข่าวได้แก่ ดร.ภก.ประยุทธ ภูวรัตนาวิวิธ อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ เปิดเผยว่า “เครื่องมือประเมินการอุดตันของโพรงจมูก พัฒนาต่อยอดมาจากเครื่องมือ NU_spiroBreathe; NUB มีลักษณะเป็นทรงกระบอกและท่อยางสำหรับหายใจเข้าหรือออกทางจมูก เครื่องมือนี้มีความสามารถในการทำงานได้ถึง 3 ชนิด ได้แก่ 1.ใช้วัดปริมาตรและวัดแรงดันจากการหายใจเข้าและการหายใจออกได้  2.ใช้ประเมินการอุดตันของโพรงจมูกเพื่อประเมินความรุนแรงของภาวะจมูกอุดตัน หรือติดตามประสิทธิภาพการรักษาในผู้ป่วยกลุ่มโรคจมูกอักเสบ ภูมิแพ้ โรคหืด โรคริดสีดวงจมูก ฯลฯ 3.ประยุกต์ใช้ในการประเมินอาการได้กลิ่นลดลงซึ่งเป็นหนึ่งในอาการของผู้ติดเชื้อ COVID-19 ได้อีกด้วย  ปัจจุบันเครื่องมือดังกล่าวได้มีบริษัทมาซื้อลิขสิทธิ์เพื่อนำไปผลิตในอุตสาหกรรมทางการแพทย์คาดว่าประมาณเดือนกุมภาพันธ์ก็จะมีจำหน่ายในท้องตลาด

          ประเด็นที่สาม เรื่อง คณาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ พัฒนาเครื่องช่วยบริหารยาหยอดตาเพื่อลดความเสี่ยงการเชื้อ COVID-19 ผู้แถลงข่าวได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจนยุทธ ศรีหิรัญ อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปะและการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า คณะผู้วิจัย ซึ่งรวมถึง ดร.ภก.ประยุทธ ภูวรัตนาวิวิธ จากคณะเภสัชศาสตร์ ได้ออกแบบเครื่องมือโดยการระดมสมองจากสหสาขาวิชาชีพ ปะกอบด้วย จักษุแพทย์ ได้แก่ ผศ.พญ.จีราวัฒน์ สวัสดิวิทยะยง หัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา และ อาจารย์นายแพทย์คณินท์ เหลืองสว่าง อาจารย์แพทย์ภาควิชาจักษุวิทยา ร่วมกันพัฒนาเครื่องช่วยบริหารยาหยอดตา Eye Drops Aids NU (EDANU) เพื่อลดความเสี่ยงจากการสัมผัสของมือกับผิวหนังรอบดวงตา หรือดวงตา จึงช่วยลดโอกาสติดเชื้อแทรกซ้อนจากมือผู้ป่วยได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยยังสามารถใช้เครื่องมือนี้ได้ถึงแม้จะมีมือเพียงข้างเดียว หรือมีปัญหาในเรื่องการมองเห็น เครื่องมือดังกล่าวจึงนำมาปรับใช้กับสถานการณ์ระบาดของโรค COVID-19 เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากมือได้ ปัจจุบันเครื่องมือดังกล่าวได้มีบริษัทมาซื้อลิขสิทธิ์เพื่อนำไปผลิตในอุตสาหกรรมทางการแพทย์คาดว่าประมาณเดือนกุมภาพันธ์ก็จะมีจำหน่ายในท้องตลาด

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ต้องขอขอบพระคุณมหาวิทยาลัยนเรศวรที่ให้การสนับสนุนการวิจัยในทุกสาขา  ขอบพระคุณการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ที่ร่วมเป็นพลังส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง5G ในการพัฒนาด้านการสาธารณสุข อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์  พัฒนาโจทย์วิจัย พัฒนากำลังคน การเรียนการสอน สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน และความมั่นคงในทุกมิติของประเทศไทยต่อไป” ศาสตราจารย์ นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์ กล่าว

 
มหาวิทยาลัยนเรศวรแถลงข่าวประจำเดือนมกราคม 2564  คณะแพทย์ ม.นเรศวร สร้างอนาคตสุขภาพด้านการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท (Telemedicine) แห่งแรกในประเทศไทยด้วยเครือข่าย 5G มหาวิทยาลัยนเรศวรแถลงข่าวประจำเดือนมกราคม 2564  คณะแพทย์ ม.นเรศวร สร้างอนาคตสุขภาพด้านการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท (Telemedicine) แห่งแรกในประเทศไทยด้วยเครือข่าย 5G มหาวิทยาลัยนเรศวรแถลงข่าวประจำเดือนมกราคม 2564  คณะแพทย์ ม.นเรศวร สร้างอนาคตสุขภาพด้านการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท (Telemedicine) แห่งแรกในประเทศไทยด้วยเครือข่าย 5G มหาวิทยาลัยนเรศวรแถลงข่าวประจำเดือนมกราคม 2564  คณะแพทย์ ม.นเรศวร สร้างอนาคตสุขภาพด้านการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท (Telemedicine) แห่งแรกในประเทศไทยด้วยเครือข่าย 5G มหาวิทยาลัยนเรศวรแถลงข่าวประจำเดือนมกราคม 2564  คณะแพทย์ ม.นเรศวร สร้างอนาคตสุขภาพด้านการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท (Telemedicine) แห่งแรกในประเทศไทยด้วยเครือข่าย 5G มหาวิทยาลัยนเรศวรแถลงข่าวประจำเดือนมกราคม 2564  คณะแพทย์ ม.นเรศวร สร้างอนาคตสุขภาพด้านการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท (Telemedicine) แห่งแรกในประเทศไทยด้วยเครือข่าย 5G มหาวิทยาลัยนเรศวรแถลงข่าวประจำเดือนมกราคม 2564  คณะแพทย์ ม.นเรศวร สร้างอนาคตสุขภาพด้านการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท (Telemedicine) แห่งแรกในประเทศไทยด้วยเครือข่าย 5G มหาวิทยาลัยนเรศวรแถลงข่าวประจำเดือนมกราคม 2564  คณะแพทย์ ม.นเรศวร สร้างอนาคตสุขภาพด้านการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท (Telemedicine) แห่งแรกในประเทศไทยด้วยเครือข่าย 5G มหาวิทยาลัยนเรศวรแถลงข่าวประจำเดือนมกราคม 2564  คณะแพทย์ ม.นเรศวร สร้างอนาคตสุขภาพด้านการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท (Telemedicine) แห่งแรกในประเทศไทยด้วยเครือข่าย 5G มหาวิทยาลัยนเรศวรแถลงข่าวประจำเดือนมกราคม 2564  คณะแพทย์ ม.นเรศวร สร้างอนาคตสุขภาพด้านการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท (Telemedicine) แห่งแรกในประเทศไทยด้วยเครือข่าย 5G มหาวิทยาลัยนเรศวรแถลงข่าวประจำเดือนมกราคม 2564  คณะแพทย์ ม.นเรศวร สร้างอนาคตสุขภาพด้านการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท (Telemedicine) แห่งแรกในประเทศไทยด้วยเครือข่าย 5G มหาวิทยาลัยนเรศวรแถลงข่าวประจำเดือนมกราคม 2564  คณะแพทย์ ม.นเรศวร สร้างอนาคตสุขภาพด้านการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท (Telemedicine) แห่งแรกในประเทศไทยด้วยเครือข่าย 5G มหาวิทยาลัยนเรศวรแถลงข่าวประจำเดือนมกราคม 2564  คณะแพทย์ ม.นเรศวร สร้างอนาคตสุขภาพด้านการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท (Telemedicine) แห่งแรกในประเทศไทยด้วยเครือข่าย 5G มหาวิทยาลัยนเรศวรแถลงข่าวประจำเดือนมกราคม 2564  คณะแพทย์ ม.นเรศวร สร้างอนาคตสุขภาพด้านการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท (Telemedicine) แห่งแรกในประเทศไทยด้วยเครือข่าย 5G มหาวิทยาลัยนเรศวรแถลงข่าวประจำเดือนมกราคม 2564  คณะแพทย์ ม.นเรศวร สร้างอนาคตสุขภาพด้านการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท (Telemedicine) แห่งแรกในประเทศไทยด้วยเครือข่าย 5G
 
เพิ่มข้อมูลเมื่อ : อังคาร ที่ 12 มกราคม 2564
โดย : นางสาวณัฐพร แก้วแดง
 
    จัดการเว็บไซต์
  © 2024 Faculty of Medicine Naresuan University.thrights reserved. (Support web browser for Google Chrome, IE11, Mozilla Firefox)