โลโก้ หน่วยแคชเชียร์

หน่วยแคชเชียร์

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


โลโก้หน่วยงาน
Speech Camps ครั้งที่ 12 (ดู 1835 ครั้ง)
 

    วันนี้ (31 กรกฎาคม 2563) เวลา 11.30 น. รศ.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ เป็นประธานในพิธีปิดโครงการ Speech Camps ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 12 เป็นประจำทุกเดือนระยะเวลา 1 ปี  การนี้ ผศ. นพ.ศรัณย์ วรศักดิ์วุฒิพงษ์ ผู้อำนวยการสถานรักษาแก้ไขภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และความผิดปกติของศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้กล่าวรายงานผลการดำเนินโครงการ โดยมี ผศ.ทพ.ดร.อนุพันธ์ สิทธิโชคชัยวุฒิ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีปิด พร้อมด้วยวิทยากร และผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 70 คน สำหรับความสำคัญของโครงการดังกล่าว จัดขั้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการพูด ภาษาและการแปรเสียง เพื่อแก้ไขหรือลดปัญหาทางภาษาและการพูด เพื่อบูรณาการวิชาการกับการเรียนการสอน การวิจัยและองค์กรภายนอก

   โครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศจากหลายสถาบัน ได้แก่

1.รศ.ดร.เบญจมาศ พระธานี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2.ผศ.ดร.กัลยาณี มกราภิรมย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

3.นท.หญิง นวนศรี ศรีธนบุตร โรงพยาบาลภูมิพลอดุยเดช

4.ผศ.ดร.รัชนี มิตกิตติ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

5.ดร.พฤตินันท์ สุฤทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

6.อ.ทพญ.สุปัญญา นัยวิกุล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

7.ผศ.ทพญ.ดร.จุฑารัตน์ ฉิมเรือง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

8.ผศ.ทพญ.รัชวรรณ ตัณศลารักษ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

9.นายศวิต กาสุริยะ  ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

10.นายณัฐพงษ์ เครือภักดี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

11.นายพุทธพงศ์ เสริฐศรี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ทางคณะแพทยศาสตร์ ต้องขอขอบพระคุณท่านวิทยากรทุกท่านมา ณ โอกาสนี้

   สำหรับเด็กเพดานโหว่ส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการด้านภาษาและการพูดอยู่ในเกณฑ์ปกติ เนื่องจากมีเชาว์ปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่เด็กเพดานโหว่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะที่มีความพิการของใบหน้าและกะโหลกศีรษะแต่กำเนิดร่วมด้วย จะมีความบกพร่องเรื่องการพัฒนาทางภาษาและการพูด เพราะแม้ว่าเด็กเหล่านี้จะสามารถใช้โครงสร้างของกล่องเสียง คอ ปาก และอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดในการออกเสียงและพูดเป็นถ้อยคำต่างๆ ได้ แต่มีกลไกการพูดที่ผิดปกติและไม่ดีพอต่อการพัฒนาภาษาและการพูดที่ปกติ โดยเฉพาะการเล่นเสียงช่วงก่อนการพัฒนาการพูด และช่วงพูดคำแรกที่มีความหมาย หรือก่อนที่จะมีการเย็บซ่อมเพดาน ผู้ป่วยอีกประมาณร้อยละ 20-30 หลังเย็บเพดานแล้วยังพบว่ามีปัญหาในการพัฒนาภาษาล่าช้า

   จากการดำเนินงานของสถานฯ พบว่ายังมีปัญหาที่สำคัญคือ การออกเสียงในระยะแรกของชีวิต เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการพัฒนาภาษาและการพูด เพราะการออกเสียงในระยะแรกเป็นพื้นฐานของการพัฒนาระบบเสียงและภาษา ยังประโยชน์แก่ผู้ป่วยและครอบครัวอย่างเต็มที่

   สามารถขอรับคำปรึกษาและติดต่อสอบถามเพิ่มเติมเรื่องการรักษา สามารถติดต่อได้ที่ สถานรักษาแก้ไขภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ฯ เบอร์โทรศัพท์ 0 55 965268 หรือ แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรม เบอร์โทรศัพท์ 0 5596 5260 แพทย์ออกตรวจทุกวันจันทร์ และพฤหัสบดี เวลา 09.00 -12.00 น.

 
Speech Camps ครั้งที่ 12 Speech Camps ครั้งที่ 12 Speech Camps ครั้งที่ 12 Speech Camps ครั้งที่ 12 Speech Camps ครั้งที่ 12 Speech Camps ครั้งที่ 12 Speech Camps ครั้งที่ 12 Speech Camps ครั้งที่ 12 Speech Camps ครั้งที่ 12 Speech Camps ครั้งที่ 12 Speech Camps ครั้งที่ 12 Speech Camps ครั้งที่ 12 Speech Camps ครั้งที่ 12 Speech Camps ครั้งที่ 12 Speech Camps ครั้งที่ 12 Speech Camps ครั้งที่ 12 Speech Camps ครั้งที่ 12 Speech Camps ครั้งที่ 12 Speech Camps ครั้งที่ 12 Speech Camps ครั้งที่ 12 Speech Camps ครั้งที่ 12 Speech Camps ครั้งที่ 12 Speech Camps ครั้งที่ 12 Speech Camps ครั้งที่ 12 Speech Camps ครั้งที่ 12
 
เพิ่มข้อมูลเมื่อ : ศุกร์ ที่ 31 กรกฏาคม 2563
โดย : นางสาวณัฐพร แก้วแดง
 
    จัดการเว็บไซต์
  © 2024 Faculty of Medicine Naresuan University.thrights reserved. (Support web browser for Google Chrome, IE11, Mozilla Firefox)