ห้องสมุดสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สำนักหอสมุด
มหาวิทยาลัยนเรศวร

เวลาเปิดบริการ
 

 

วันจันทร์ - อาทิตย์ 8.00 -20.00 น.
วันจันทร์ – อาทิตย์ (ช่วงปิดภาคการศึกษา) 8.00 – 16.30 น.
วันหยุดราชการที่ตรงกับวันจันทร์ - ศุกร์ ปิดบริการ
โทรศัพท์ (055) 261000 ต่อ 4748 หัวหน้าห้องสมุด, 4769 งานบริการ, 4643 งานยืม - คืน
โทรสาร (055) 261049 E-mail : waluleeb@nu.ac.th
ประวัติ
ห้องสมุดสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นห้องสมุดที่ขึ้นตรงกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร
ถือกำเนิดจากนโยบายของมหาวิทยาลัยที่เปิดทำการสอนในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพรวม 6 คณะด้วยกัน คือ
คณะแพทยศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ภาควิชา คือ
ภาควิชาพยาธิวิทยาและนิติเวชศาสตร์
ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ แบ่งออกเป็น 4 ภาควิชา คือ
ภาควิชากายวิภาคศาสตร์
ภาควิชาสรีรวิทยา
ภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา
ภาควิชาชีวเคมี
คณะเภสัชศาสตร์ แบ่งออกเป็น 3 ภาควิชา คือ
ภาควิชาเภสัชเคมีและเภสัชเวท
ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม
ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ
ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ
ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ
คณะทันตแพทยศาสตร์ แบ่งออกเป็น 5 ภาควิชา คือ
ภาควิชาชีววิทยาช่องปาก
ภาควิชาทันตกรรมบูรณะ
ภาควิชาทันตกรรมป้องกัน
ภาควิชาทันตกรรมโรงพยาบาล
ภาควิชาทันตกรรมวินิจฉัย
คณะสหเวชศาสตร์ แบ่งออกเป็น 4 ภาควิชา คือ
ภาควิชากายภาพบำบัด
ภาควิชาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
ภาควิชาเทคนิคการแพทย์
ภาควิชารังสีเทคนิค
คณะพยาบาลศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ภาควิชา คือ
ภาควิชาการพยาบาลพื้นฐาน
ภาควิชาการบริหารการพยาบาลและการศึกษาพยาบาล
ดังนั้น สำนักหอสมุดจึงมีความจำเป็นต้องก่อตั้งห้องสมุดสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อรองรับการเรียนการสอนในสาขาวิชาเฉพาะดังกล่าว ทั้งนี้ในบางคณะได้เปิดสอนในระดับปริญญาโทและเอกรวมถึงหลักสูตรนานาชาติเรียบร้อยแล้ว
วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
  1. เพื่อเป็นแหล่งทรัพยากรสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  2. เพื่อให้บริการแก่คณาจารย์และนิสิตสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตลอดจนผู้ใช้บริการภายนอกมหาวิทยาลัย
  3. เพื่อสนับสนุนสำนักหอสมุด ในด้านการบริหารจัดการและงานเทคนิคของห้องสมุดสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
แผนภูมิการดำเนินงานของห้องสมุด

ห้องสมุดสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

งานบริหารและธุรการ งานเทคนิค งานบริการ
งานบริหารห้องสมุด
งานวางแผน
งานสารบรรณ
งานการเงินค่าปรับ
งานประชาสัมพันธ์
งานสถิต
งานประสานงานภายนอก
งานประสานงานภายใน




งานเตรียมก่อนวิเคราะห์
งานวิเคราะห์สนเทศ
งานเตรียมวารสาร
งานสำเนาสารบัญวารสาร
งานจัดทำดัชนีวารสาร
งานจัดทำกฤตภาค
งานจัดทำรายชื่อหนังสือใหม่
งานส่งหนังสือซ่อม
งานสำรวจหนังสือ
งานพิมพ์สันหนังสือ
งานผนึกบัตรกำหนดส่ง

งานบริการการอ่าน
งานบริการยืม-คืน
งานสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง
งานบริการฐานข้อมูล
สำเร็จรูป CD-ROM
งานให้คำปรึกษาและช่วยค้นคว้า
งานบริการหนังสือสำรอง
งานบริการจองหนังสือ
งานบริการยืมระหว่างห้องสมุด
งานจัดนิทรรศการหนังสือใหม่
งานบริการข่าวสารทันสมัย
งานจัดบริการแนะนำการใช้ห้องสมุด
งานจัดชั้นหนังสือและวารสาร

การดำเนินงานในระยะแรก ( 9 มิถุนายน 2537 – 9 มิถุนายน 2543)
ห้องสมุดสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เริ่มเปิดดำเนินการ เมื่อวันพฤหัสบดี 9 มิถุนายน 2537   ณ อาคารคณะเภสัชศาสตร์ 1 ชั้น 2 ห้อง ภ 1201
ทรัพยากรห้องสมุด
  • วัสดุตีพิมพ์ (Printed Materials) ได้แก่ หนังสือตำรา หนังสืออ้างอิง วิทยานิพนธ์สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง วารสาร จุลสาร กฤตภาค รายงานการวิจัย สิ่งพิมพ์รัฐบาล และ Pocket Book
  • วัสดุไม่ตีพิมพ์ (Non-Printed Materials) ได้แก่ วิดีทัศน์, CD-ROM , Medical Multimedia onCD-ROM และ CAI Program ทางการแพทย์
การจัดห้องสมุดในระยะแรก
ห้อง ภ 1201 จัดเป็นห้องหนังสือตำราภาษาต่างประเทศและภาษาไทย หนังสืออ้างอิงสิ่งพิมพ์รัฐบาล รายงานการวิจัย (จัดหมู่หนังสือตามระบบ LC และ NLM) และหนังสือที่มิใช่หนังสือตำรา (จัดเป็น Collection หนังสือ Pocket Book) ตู้เก็บกฤตภาค ชั้นวารสารภาษาต่างประเทศและภาษาไทยจุลสาร สิ่งพิมพ์ให้เปล่าจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และยังจัดเป็นสำนักงานห้องสมุด บริการยืม-คืน บริการหนังสือจอง บริการจองหนังสือ บริการยืมระหว่างห้องสมุด งานจัดหมวดหมู่หนังสือ บริการสืบค้นข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง (OPAC) บริการ CD-ROM, CAI บริการ Internet และบริการหนังสือพิมพ์ห้อง ภ 1202 จัดเป็นห้อง Study Room สำหรับนิสิตที่ทำงานเป็นกลุ่ม และอภิปรายกลุ่มห้อง ภ 1203 จัดเป็นห้องเก็บวารสารภาษาต่างประเทศฉบับล่วงเวลา งานเทคนิคบางหน่วย เช่น งานพิมพ์ซองและบัตรยืม
บุคลากรห้องสมุดในช่วงเริ่มเปิดดำเนินการ
  1. นางวลุลี โพธิรังสิยากร บรรณารักษ์ชำนาญการระดับ 7 รักษาการหัวหน้าห้องสมุดฯ
  2. ลูกจ้างชั่วคราว ปฏิบัติหน้าที่บันทึกข้อมูล และงานจัดชั้นหนังสือ
  3. ลูกจ้างชั่วคราว ปฏิบัติหน้าที่ให้บริการยืม-คืน และงานจัดชั้นหนังสือ
ฐานข้อมูล (Databases) ที่พัฒนาขึ้นเองในขณะนั้น
  • MED 1 ฐานข้อมูลหนังสือภาษาต่างประเทศ
  • MED 2 ฐานข้อมูลหนังสือภาษาไทยและวิทยานิพนธ์
  • MED 3 ฐานข้อมูลรายงานการวิจัยภาษาต่างประเทศ
  • MED 4 ฐานข้อมูลรายงานการวิจัยภาษาไทย
  • MED 5 ฐานข้อมูล Pocket Book
  • MED 6 ฐานข้อมูลสิ่งพิมพ์รัฐบาล
  • MED 7 ฐานข้อมูลวารสารภาษาต่างประเทศ
  • MED 8 ฐานข้อมูลวารสารภาษาไทย
  • MED 9 ฐานข้อมูลดรรชนีวารสารภาษาไทยและกฤตภาค
การดำเนินงานในระยะปัจจุบัน ( 12 มิถุนายน 2543 - ปัจจุบัน )
เนื่องจากสถานที่ห้องสมุดเดิมคับแคบ มหาวิทยาลัยจึงมีนโยบายให้ย้ายห้องสมุดไปยังคณะแพทยศาสตร์ ชั้น 5 และเริ่มเปิดให้บริการ ในวันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน 2543 ณ ห้อง MD514-515ส่วนสถานที่เดิมให้ปรับเป็น Reading Room ของคณะเภสัชศาสตร์ โดยมีบุคลากรของคณะจำนวน 2 คน คือบรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ส่วนงานจัดซื้อหนังสือเป็นหน้าที่ของฝ่ายพัฒนาทรัพยากร สำนักหอสมุด เช่นเดิม และงานจัดหมวดหมู่หนังสือสาขาเภสัชศาสตร์นั้น เป็นหน้าที่ของห้องสมุดสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นผู้ดำเนินการ และส่งให้ Reading Room คณะเภสัชศาสตร์เพื่อบริการต่อไปการดำเนินงานด้านเทคนิค และงานบริการนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม เนื่องจากการเพิ่มจำนวน User License ระบบอัตโนมัติเป็น 3 Licenses ด้วยกัน คือ Circulation Module, OPAC และ Cataloguing Module ซึ่งลดระยะเวลา และการซ้ำซ้อนเป็นอย่างมากต่อมาเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2546 ห้องสมุดได้ทำการปรับขยายพื้นที่ให้บริการเพิ่มขึ้นอีก 1 ห้องคือ ห้อง MD513
การจัดห้องสมุดในระยะปัจจุบัน
ห้อง MD513 จัดเป็นห้องหนังสือตำราภาษาไทย วารสารฉบับปัจจุบัน ฉบับล่วงเวลา และฉบับเย็บเล่ม บริการกฤตภาค จุลสาร และดัชนีวารสารห้อง MD514 จัดเป็นห้องหนังสือภาษาต่างประเทศ สิ่งพิมพ์รัฐบาล รายงานการวิจัย สิ่งพิมพ์ พิเศษ Pocket Book และวิทยานิพนธ์ (จัดหมู่หนังสือตามระบบ LC และ NLM) บริการยืม-คืน บริการหนังสือจอง บริการจองหนังสือ บริการยืมระหว่างห้องสมุด บริการสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง (OPAC) บริการฐานข้อมูล CD-ROM บริการ Internet และบริการหนังสือพิมพ์ห้อง MD515 เป็นห้องทำงานหัวหน้าห้องสมุดและงานวิเคราะห์สนเทศ
บุคลากรห้องสมุดในปัจจุบัน
  1. นางวลุลี โพธิรังสิยากร บรรณารักษ์เชี่ยวชาญระดับ 9 รักษาการหัวหน้าห้องสมุดฯ
  2. นางรวิวรรณ ศรีอำไพ พนักงานมหาวิทยาลัยสายบริการ ปฏิบัติหน้าที่บรรณารักษ์งานบริการ
  3. นางพิณทิพย์ ประหลาดเนตร ลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ปฏิบัติหน้าที่ให้บริการยืม-คืน และงานพิมพ์
  4. นางศิริสุข วงษ์ประยูร ลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่งพนักงานห้องสมุด ปฏิบัติหน้าที่จัดชั้นหนังสือให้บริการยืม-คืน และงานบันทึกข้อมูล
บริการของห้องสมุด
  • บริการยืม-คืน
  • บริการตอบคำถามเพื่อการค้นคว้า
  • บริการหนังสือสำรอง
  • บริการจองหนังสือ
  • บริการรายชื่อหนังสือใหม่
  • บริการยืมระหว่างห้องสมุด
  • บริการแฟ้มกฤตภาค
  • บริการบทความทางวิทยาศาสตร์สุขภาพประจำสัปดาห์
  • บริการสำเนาหน้าสารบัญวารสารภาษาต่างประเทศฉบับปัจจุบัน
  • บริการวารสารฉบับปัจจุบัน ฉบับล่วงเวลา และฉบับเย็บเล่ม
  • บริการดัชนีวารสารภาษาไทย
  • บริการสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง (OPAC)
  • บริการสืบค้นข้อมูลจากระบบ INTERNET
  • บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด
ข้อควรปฏิบัติในการใช้ห้องสมุด
1. นำบัตรห้องสมุดมาด้วยทุกครั้ง เมื่อยืมหรือคืนหนังสือ
2. เมื่อเข้าห้องสมุดโปรดวางกระเป๋า ถุงย่าม และสิ่งของที่ไม่ต้องการใช้ไว้ที่ชั้นวางของ สำหรับของมีค่าเช่น กระเป๋าเงิน เอกสารสำคัญ ควรนำติดตัวไว้
3. ปรับสัญญาณโทรศัพท์มือถือเป็นระบบ Silent หรือ Vibrator
4. โปรดแต่งกายสุภาพและคำนึงถึงอยู่เสมอว่า ห้องสมุดเป็นสถานที่ราชการ
5. ไม่พูดคุยหรือส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
6. ก่อนออกจากห้องสมุด โปรดยื่นสิ่งของให้เจ้าหน้าที่ตรวจทุกครั้ง
7. หนังสือหาย ผู้ใช้ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดทุกครั้ง
ระเบียบการยืมและค่าปรับ
ชนิดของสิ่งพิมพ์  ประเภทของผู้ยืม (เล่ม) จำนวนที่ให้ยืม   ระยะเวลา ค่าปรับเกินกำหนดส่ง
หนังสือทั่วไป, อาจารย์  7 15 วัน  วันละ 5 บ./เล่ม
สิ่งพิมพ์รัฐบาล,  ข้าราชการ 5 7 วัน วันละ 5 บ./เล่ม
รายงานการวิจัย,  บัณฑิตศึกษา 15 วัน  วันละ 5 บ./เล่ม
Pocket Book นิสิตปริญญาตรี  5 7 วัน  วันละ 5 บ./เล่ม
หนังสือสำรอง ผู้ยืม 
ทุกประเภท 
คิดจำนวน 
รวมกับหนังสือทั่วไป
1 คืน  ชม. ละ 5 บ./เล่ม
วันละไม่เกิน 60 บาท
หมายเหตุ
  1. หนังสืออ้างอิง วารสารฉบับปัจจุบัน ฉบับล่วงเวลา และฉบับเย็บเล่ม ไม่อนุญาตให้ยืมออกจากห้องสมุด ยกเว้นถ่ายเอกสาร
  2. จำนวนสิ่งพิมพ์ทุกชนิดคิดรวมกับสิ่งพิมพ์ที่ยืมจากสำนักหอสมุด
  3. ระเบียบการใช้ห้องสมุดของบุคคลภายนอก ให้ปฏิบัติตามประกาศมหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่อง การใช้บริการสำนักหอสมุด พ.ศ. 2545
แผนการดำเนินงานต่อไปในอนาคต
1. วางแผนการพัฒนาห้องสมุดให้เป็นศูนย์เครือข่ายเพื่อเชื่อมต่อกับห้องสมุดโรงพยาบาลหรือสถาบันที่เกี่ยวข้องในภาคเหนือตอนล่าง
2. พัฒนาห้องสมุดให้เป็นรูปแบบ Electronic Library
3. พัฒนางานบริการ โดยเฉพาะงาน Document Delivery ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4. พัฒนาบุคลากรให้ปฏิบัติงานห้องสมุดได้อย่างครบวงจร