การส่งตรวจทางเซลล์วิทยาของเสมหะ
     ข้อแนะนำ
     1. ให้ผู้ป่วยเก็บเสมหะตอนเช้าตรู่ สามวันติดกันเป็นอย่างน้อย
     2. ก่อนขากเสมหะ ให้ผู้ป่วยแปรงฟัน และบ้วนปากให้สะอาด
     3. เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ใช่น้ำลาย ให้ผู้ป่วยสูดหายใจเข้าเต็มที่ แล้วหายใจออกยาวๆ ทำติดต่อกันสักพัก
     วิธีเก็บเสมหะ
     1. เสมหะที่ได้เก็บใส่ขวดขึ้น ๆ ปากกว้าง กรณีที่ไม่สามารถส่งตรวจได้ภายใน 12-24 ชั่วโมง ควรเก็บขวดเสมหะไว้ในตู้เย็น แล้วปิดปากขวดให้สนิท เช็ดรอบ ขวดให้สะอาด
     2. เขียนชื่อ-นามสกุล เลขที่ทั่วไป วัน-เดือน-ปี ที่เก็บเสมหะ ลงบนกระดาษกาวย่น เขียนด้วย ดินสอหรือหมึกชนิดที่ไม่ละลายน้ำ ปิดที่ข้างขวด
     3. นำเสมหะที่เก็บส่งตรวจทุกวัน จนครบ 3 วัน หรือรวบรวมส่งตรวจพร้อมกัน
     4. ในรายที่ผู้ป่วยไม่ไอ หรือไม่มีเสมหะ จำเป็นต้องใช้การ induced sputum โดยการทำ aerosol inhalation
         ส่วนผสม
                  o Sodium chloride 150 g.
                  o Propylene glycol 200 ml.
                  o น้ำกลั่น 800 ml.
     5. รายที่ทำ rigid bronchoscopy แล้วไม่พบสิ่งผิดปกติ แต่ยังสงสัยว่าเป็นมะเร็ง การเก็บ เสมหะภายหลังการส่องกล้อง 24 ชั่วโมง จะได้เสมหะมาก เนื่องจากผู้ป่วยมักมีเสมหะ ออกมากภายใน 24 ชั่วโมง ทำให้ตรวจพบเซลล์ที่ผิดปกติได้ง่าย
     6. รายที่ทำ flexible bronchoscopy การตรวจเสมหะ 24 ชั่วโมง ภายหลังการส่องกล้อง ไม่พบว่ามีประโยชน์ เพราะการตรวจโดย flexible bronchoscope มักจะพบสิ่งผิดปกติ อยู่แล้ว