การส่งตรวจชิ้นเนื้อไต (Kidney biopsy)
     วิธีการส่งตรวจ
     1. แพทย์ผู้ส่งตรวจเขียนคำขอส่งตรวจในแบบฟอร์มการส่งตรวจชิ้นเนื้อไต ระบุข้อมูลให้ครบถ้วน (ขอแบบฟอร์มได้ที่หน่วยพยาธิวินิจฉัย ชั้น 6)
     2. คีย์ข้อมูลการส่งตรวจในระบบ iMed รหัสกรมบัญชีกลาง 38141 (Kidney needle biopsy with immunohistochemical study) ชิ้นเนื้อไตโดยใช้เข็มเล็กและย้อมพิเศษชุดโรคไต ตามขั้นตอนการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา
     3. เก็บชิ้นเนื้อไตที่ได้จากการทำ Kidney biopsy และแบ่งชิ้นเนื้อดังนี้
     ชิ้นที่ 1 : สำหรับส่งตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ให้ใส่ในขวดแก้วที่มี 2.5% glutaraldehyde โดยสามารถเบิกน้ำยาดังกล่าวและใบขอส่งตรวจทางพยาธิวิทยาได้ที่หน่วยพยาธิวินิจฉัย  ชั้น 6 รพ.มหาวิทยาลัยนเรศวร (โทร.5326) ในวันเวลาราชการ โดยแจ้งทางหน่วยพยาธิวินิจฉัยล่วงหน้า 1 วันทำการ แล้วระบุชื่อสกุล HN คนไข้ที่ภาชนะให้ชัดเจน นำส่งห้องปฏิบัติการภายใน 30 นาที
     ชิ้นที่ 2 : ใส่ลงในขวดแก้วที่มี Glyo-fix หรือ 10% neutral buffered formalin ปิดฝาให้สนิท ระบุชื่อสกุล HN คนไข้ที่ภาชนะให้ชัดเจน  แล้วส่งห้องปฏิบัติการ  (สำหรับตรวจด้วย light microscope และ immunoperoxidase)
     ชิ้นที่ 3 : ให้เตรียมแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ขนาดพอที่ห่อชิ้นเนื้อไตได้สะดวก  วางชิ้นเนื้อลงบนแผ่นฟอยล์ห่ออลูมิเนียมฟอยล์ ใส่ในซองพลาสติก  ระบุชื่อสกุล HN คนไข้ที่ภาชนะให้ชัดเจน  บรรจุในกระเป๋าเก็บความเย็นหรือกระติกน้ำแข็ง  แล้วรีบนำส่งห้องปฏิบัติการภายใน 30 นาที (ใช้สำหรับตรวจ immunofluorescence)
     หมายเหตุ :
     1. กรณีเก็บชิ้นเนื้อได้เพียง 1 ชิ้น ให้ส่งเป็นชิ้นเนื้อสด (วิธีเก็บใช้แบบชิ้นที่ 2) เพียงอย่างเดียว (ทางห้องปฏิบัติการจะดำเนินการตามกระบวนการที่เหมาะสมของห้องปฏิบัติการหน่วยพยาธิวินิจฉัย)
     ใบขอส่งตรวจ
     2. น้ำยาเคมี และอุปกรณ์ดังรายการข้างต้น ขอเบิกได้ที่หน่วยพยาธิวินิจฉัย ชั้น 6 ในวันเวลาราชการ(ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน โทร.5326)
     การรายงานผลชิ้นเนื้อไต
         o รายงานผลเบื้องต้นภายใน 7 วันทำการ
         o รายงานผลฉบับสมบูรณ์ (ไม่รวมการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน) ภายใน 10 วันทำการ
         o กรณีที่มีการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนจะรายงานผลส่วนที่ตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนภายใน 4 สัปดาห์
         o กรณีที่ไม่สามารถรายงานผลได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือไม่ได้ส่วนของ glomerulus พยาธิแพทย์จะติดต่อแพทย์ผู้ส่งตรวจโดยตรง
     วิธีเก็บชิ้นเนื้อที่ได้จากการทำ Kidney biopsy
     1. ล้างชิ้นเนื้อที่เก็บได้ด้วย normal saline ทันที
     2. หยด normal saline ลงบนสไลด์ นำชิ้นเนื้อวางลงใน normal saline แล้วใช้มีดโกนหรือมีดผ่าตัดใหม่ ที่มีความคมมากแบ่งชิ้นเนื้อเป็น 5 ชิ้น อย่างรวดเร็วโดยให้ได้สัดส่วน ดังรูป
             
     3. นำชิ้นเนื้อทั้งหมดใส่ลงในขวดน้ำยาอย่างรวดเร็ว ดังนี้
         o ส่วนที่ 1 ใส่ลงใน 2.5% glutaraldehyde (สำหรับตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน)
         o ส่วนที่ 2 ใส่ลงใน 10% neutral buffer formalin (สำหรับตรวจด้วย light microscope)
         o ส่วนที่ 3 ห่อด้วยแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ขนาดพอที่ห่อชิ้นเนื้อไตได้สะดวก ใส่ในซองพลาสติก ใช้สำหรับตรวจ immunofluorescence
     4. นำขวดน้ำยาทั้งหมดแช่เย็นโดยใช้น้ำแข็งใส่ในภาชนะเก็บความเย็น แล้วนำส่งอย่างรวดเร็ว (ให้ส่งถึงเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการที่ให้การตรวจภายในเวลา 30 นาที)
     5. หากไม่สามารถนำส่งห้องปฏิบัติการได้ทันที (เกิน 30 นาที) ให้ดำเนินการดังนี้
         o ส่วนที่ 1 ให้ใช้มีดโกนหรือมีดผ่าตัดใหม่ที่มีความคมมากแบ่งชิ้นเนื้อออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 1 ลบ.มม. โดยทำการแบ่งชิ้นเนื้อบนสไลด์และชิ้นเนื้อนั้นต้องมีน้ำยา 2.5% glutaraldehyde หล่อให้ท่วมอยู่ตลอดเวลา เสร็จแล้วนำชิ้นเนื้อใส่ลงในขวดที่มีน้ำยา 2.5 % glutaraldehyde ทิ้งไว้นาน 30 นาที ระหว่างนี้ให้เขย่าขวดตลอดเวลาหรือใช้เครื่อง rotator หรือ shaker เมื่อครบเวลาแล้วให้เปลี่ยนน้ำยาในขวดเป็น phosphate buffer โดยเปลี่ยนน้ำยา buffer 3 ครั้ง ๆ ละ 10 นาที ระหว่างนี้ต้องเขย่าขวดเช่นกัน เสร็จแล้วให้นำชิ้นเนื้อที่แช่ใน buffer นี้เก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ 4 °C เพื่อรอนำส่งต่อไป
         o ส่วนที่ 2 ไม่ต้องใส่ใน normal saline ให้ใส่ลงใน OCT compound (เป็นชื่อทางการค้าและเป็นน้ำยาสำเร็จรูปต้องจัดหาเอง) แล้วทำให้แข็งโดยแช่ในช่อง freeze ทิ้งไว้เพื่อรอนำส่งต่อไป ระหว่างนำส่งต้องเก็บในน้ำแข็งแห้งไม่ให้ OCT compound ละลาย (ดูรายละเอียดการวางชิ้นเนื้อใน OCT)
         o ส่วนที่ 3 ให้ใส่ไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 4 °C เพื่อรอนำส่งพร้อมกับส่วนอื่น ๆ นำชิ้นเนื้อทั้ง 3 ส่วนส่งตรวจโดยวิธีเดียวกับข้อ 4