วิธีการเก็บและส่งสิ่งส่งตรวจทางอณูพยาธิวิทยา
     วิธีการเก็บ และส่งสิ่งส่งตรวจ
     1. หน่วยพยาธิวินิจฉัย มีบริการส่งตรวจเพิ่มทางอณูวิทยา เช่น PCR for TB, KRAS mutation, EGFR mutation, ALK mutation และ HER-2 FISH สิ่งส่งตรวจ คือ พาราฟินบล็อก โดยให้เลือกจากบล็อกที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่ามีส่วนของชิ้นเนื้อที่สงสัย ก่อนส่งตรวจต้องกรอกรายละเอียดต่างๆ ที่มีในใบส่งตรวจ (Request form) ให้ครบถ้วน พร้อมแนบใบรายงานผลทางพยาธิวิทยาของบล็อกที่ส่งตรวจ
     2. การตรวจ HER-2 FISH ส่งสิ่งส่งตรวจ มี 2 แบบ
         2.1 การส่งเป็นพาราฟินบล็อก โดยเลือกบล็อกที่มีเนื้อเยื่อมะเร็ง ระบุหมายเลขบล็อก และรายละเอียดต่าง ๆ ในใบส่งตรวจให้ชัดเจนพร้อมกับใบรายงานผลทางพยาธิวิทยา
         2.2 การส่งเป็นสไลด์ โดยสไลด์ที่ตัดจากพาราฟินบล็อกที่มีเนื้อเยื่อมะเร็ง ความหนาของ Section 3ไมครอน นำเข้าตู้อบที่อุณหภูมิ 50o C ทิ้งไว้ข้ามคืน หรือ 58 o C อย่างน้อย 2 ชม. โดยใช้สไลด์ที่เคลือบด้วย Aminopropyl triethoxysilane แทน gelatin และควรส่งสไลด์จากบล็อกเดียวกันอย่างน้อย 3 แผ่น เนื่องจากอาจจะมีชิ้นเนื้อหลุดจากสไลด์ในขั้นตอนการย้อมได้ พร้อมด้วย H&E stained slide เพื่อใช้ประเมินสไลด์และระบุตำแหน่งของเซลล์มะเร็งในขั้นตอนการแปลผล ให้เขียนหมายเลขชิ้นเนื้อ (Surgical number) บนสไลด์และระบุรายละเอียดต่าง ๆ ในใบส่งตรวจให้ชัดเจนพร้อมกับใบรายงานทางพยาธิวิทยา
     รายละเอียดการส่งตรวจ PCR for TB (In house) ทำโดย หน่วยพยาธิวินิจฉัย คณะแพทยศาสตร์
     1. แพทย์ เขียนใบขอส่งตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา (สีฟ้า) โดยระบุหมายเลขสิ่งส่งตรวจทางพยาธิวิทยาที่ต้องการส่ง (เนื่องจากบางรายมีการส่งชิ้นเนื้อหลายครั้ง) และรายการตรวจ PCR for TB (In house) และนำส่งที่หน่วยงานพยาธิวินิจฉัย
     2. เจ้าหน้าที่หน่วยงานพยาธิวินิจฉัยลงทะเบียนรับสิ่งส่งตรวจ หากสิ่งส่งตรวจหรือใบขอส่งตรวจมีปัญหา จะพิจารณาปฏิเสธสิ่งส่งตรวจตามเกณฑ์การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ(เริ่มนับวันลงทะเบียน เป็นวันที่ 0)
     3. นักวิทยาศาสตร์ดำเนินการเตรียมสไลด์และพาราฟินบล็อกเพื่อให้พยาธิแพทย์เลือกบล็อกที่เหมาะสมส่งตรวจต่อไป
     4. นักวิทยาศาสตร์ ดำเนินการวิเคราะห์ PCR for TB (In house) นำส่งผลการวิเคราะห์ส่งพยาธิแพทย์เพื่อรายงานผลภายใน 10 วันทำการ
     5. แพทย์ผู้รักษาสามารถดูรายงานผลได้ในระบบ iMed
     รายละเอียดการส่งตรวจ ภายนอก (สถาบันพยาธิวิทยา)
     1. แพทย์ เขียนใบขอส่งตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา (สีฟ้า) โดยระบุหมายเลขสิ่งส่งตรวจทางพยาธิวิทยาที่ต้องการส่ง (เนื่องจากบางรายมีการส่งชิ้นเนื้อหลายครั้ง) และนำส่งที่หน่วยงานพยาธิวินิจฉัย
     2. เจ้าหน้าที่หน่วยงานพยาธิวินิจฉัยลงทะเบียนรับสิ่งส่งตรวจ หากสิ่งส่งตรวจหรือใบขอส่งตรวจมีปัญหา จะพิจารณาปฏิเสธสิ่งส่งตรวจตามเกณฑ์การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ
     3. นักวิทยาศาสตร์ดำเนินการเตรียมสไลด์และพาราฟินบล็อกเพื่อให้พยาธิแพทย์เลือกบล็อกที่เหมาะสมส่งตรวจต่อไป
     4. เจ้าหน้าที่ธุรการ หรือนักวิทยาศาสตร์ รวบรวมใบขอส่งตรวจ ใบรายงานผลเดิม บล็อกชิ้นเนื้อ บรรจุกล่อง ส่งไปรษณีย์ ขั้นตอนตั้งแต่รับใบขอส่งตรวจ การเตรียมเอกสารขอตรวจ จัดหาบล็อก จนส่งออกไปภายนอก ระยะเวลาดำเนินการ 2-3 วัน
     5. เมื่อห้องปฏิบัติการภายนอก ได้รับสิ่งส่งตรวจพร้อมลงทะเบียน จะเริ่มนับวันการตรวจและออกผล
     6. เมื่อผลการตรวจออกแล้ว จะส่งรายงานผลให้พยาธิแพทย์ลงรายงานผลเพิ่มเติมในหมายเลขพยาธิวิทยาเดิมที่แพทย์ผู้รักษาขอส่งตรวจเพิ่ม พร้อมทั้งส่งใบรายงานผลฉบับจริงจากห้องปฏิบัติการภายนอกที่ตรวจแนบไปด้วย
     ระยะเวลาในการรายงานผลการตรวจ ภายนอก (สถาบันพยาธิวิทยา)
     ระยะเวลาการรายงานผล จะรวมตั้งแต่ การส่งเอกสารและสิ่งส่งตรวจถึงห้องปฏิบัติการภายนอก การตรวจวิเคราะห์ และส่งรายงานผลการตรวจวิเคราะห์กลับคืนมาที่ หน่วยพยาธิวินิจฉัย ภายใน 30 วันทำการ หลังจากนั้น พยาธิแพทย์จะรวบรวมผลการวินิจฉัยลงระบบ iMed พร้อมทั้งลงรายงานผลภายใน 1 วันทำการ
     ข้อจำกัดในการตรวจ ของสถาบันพยาธิวิทยา กรมการแพทย์
     1. กรณีการตรวจมีปัญหาเนื่องจากคุณภาพตัวอย่างไม่ดี สถาบันพยาธิวิทยา ขอจำกัดการตรวจซ้ำ โดยจะทำการตรวจซ้ำให้อีก 1 ครั้ง ทั้งนี้หากยังไม่สามารถตรวจ และรายงานผลการตรวจได้ ทางสถาบันพยาธิวิทยาจะรายงานกลับว่า “ไม่สามารถตรวจได้ เนื่องจากคุณภาพตัวอย่างไม่ดี” โดยค่าบริการการตรวจ สถาบันฯ จะคิดราคาเท่ากับการตรวจเพียง 1 ครั้ง เท่านั้น
     2. กรณีที่พยาธิแพทย์ของสถาบันพยาธิวิทยา ตรวจพบว่าสิ่งส่งตรวจส่วนที่เหลือจากการวินิจฉัยครั้งแรก ไม่พบบริเวณรอยโรคหรือเนื้อมะเร็งที่จะทำการตรวจวิเคราะห์ทางอณูพยาธิวิทยา สถาบันพยาธิวิทยาขอปฏิเสธสิ่งส่งตรวจดังกล่าว ทั้งนี้จะเก็บค่าบริการเฉพาะการผลิตสไลด์ H&E เท่านั้น
     หมายเหตุ กรณี ผู้ป่วยเคยมีผลตรวจทางพยาธิวิทยาเป็นเคสนอกเวลา (ET) แล้วต้องการตรวจ Molecular หรือย้อมพิเศษ ย้อม Immunohistochemistry(IHC) เพิ่มเติม ให้แพทย์ผู้รักษาเขียนใบส่งตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา (สีฟ้า) โดยมีค่าใช้จ่ายตามกรมบัญชีกลางและไม่มีค่าใช้จ่ายบริการนอกเวลาเพิ่มอีก
     หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจติดต่อ หน่วยพยาธิวินิจฉัย โทร.05596-5326