โลโก้ ศูนย์วิจัยโลหิตวิทยา

ศูนย์วิจัยโลหิตวิทยา

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
เกี่ยวกับเรา

ศูนย์วิจัยโลหิตวิทยา                                                               

          ศูนย์วิจัยโลหิตวิทยา แบ่งโครงสร้างการดำเนินงานออกเป็นสองส่วน ได้แก่ หน่วยวิจัยธาลัสซีเมีย และหน่วย
ปลูกถ่ายไขกระดูก โดยเริ่มเปิดดำเนินการหน่วยวิจัยธาลัสซีเมียก่อนเมื่อเดือนสิงหาคม 2545 และหน่วยปลูกถ่าย
ไขกระดูกเริ่มทำการปลูกถ่ายไขกระดูกในผู้ป่วยรายแรกเมื่อเดือนมิถุนายน 2552

กลยุทธ์หน่วยงาน ปี 2558

            ศูนย์วิจัยโลหิตวิทยา มีพันธกิจหลัก 4 ด้าน เช่นเดียวกับหน่วยงานอื่น ๆ ภายใต้คณะและมหาวิทยาลัย
โดยขับเคลื่อนหน่วยงานตามกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ของคณะแพทยศาสตร์ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาและสร้างงานวิจัยด้านสุขภาวะในระดับชาติและสากล

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการให้บริการทางการแพทย์ระดับมาตรฐานสากล

ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาบริการวิชาการสู่ความเป็นเลิศและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน

 

ผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2558

          ศูนย์วิจัยโลหิตวิทยาสามารถบรรลุเป้าหมายการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของคณะได้ทุกตัวชี้วัดดังนี้

  • ผลิตผลงานวิจัยที่ได้รับการนำเสนอในงานประชุมวิชาการระดับชาติหรือได้รับการตีพิมพ์ต่อปี ไม่น้อยกว่า
    1 เรื่อง ในปีที่ผ่านมาได้นำเสนอผลงานแบบวาจาเรื่อง Prenatal diagnosis for beta thalassemia disease using real time PCR and high resolution DNA analysis from amniotic fluid ในงานประชุม สัมมนาวิชาการ
    ธาลัสซีเมียแห่งชาติ ครั้งที่ 20
  • การรับรองมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ตามมาตรฐาน ISO 15189 โดยหน่วยวิจัยธาลัสซีเมียได้รับการรับรองมาตรฐานดังกล่าวเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2558
  • อัตราความพึงพอใจของนิสิตต่อแหล่งฝึก โดยที่ผ่านมาหน่วยวิจัยธาลัสซีเมียรับนิสิตในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อฝึกปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการด้านการควบคุมป้องกันโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียมาโดยตลอดทุกปี และมีอัตราความพึงพอใจที่ดีอย่างต่อเนื่อง
  • ความสำเร็จที่ได้จากการจัดประชุมวิชาการ โดยที่ผ่านมาหน่วยวิจัยธาลัสซีเมียได้จัดประชุมวิชาการ
    เพื่อสนับสนุนงานบริการควบคุมป้องกันโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ผ่านทางงานประชุม
    วิชาการธาลัสซีเมียภาคเหนือตอนล่างมาโดยตลอด ในปีที่ผ่านมาจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 13 และได้รับการประเมิน
    จากผู้เข้าร่วมประชุมอย่างดีโดยสม่ำเสมอ
  • ความสำเร็จด้านบริการที่เป็นเลิศเทียบเคียงกับนานาชาติ โดยหน่วยปลูกถ่ายไขกระดูกได้ดำเนินการบริการปลูกถ่ายไขกระดูกในโรคทางด้านโลหิตวิทยา มาตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งมีผลการรักษาเทียบเคียงกับผู้ป่วยปลูกถ่ายไขกระดูกทั่วโลก

 

ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่สำคัญ

            หน่วยวิจัยธาลัสซีเมีย จนถึงปัจจุบัน หน่วยวิจัยธาลัสซีเมีย ศูนย์วิจัยโลหิตวิทยาได้ดำเนินการมาเป็นเวลา
13 ปีแล้ว ในส่วนของงานบริการตรวจวินิจฉัย และกำหนดคู่เสี่ยงของโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย มีโรงพยาบาลเครือข่ายในเขตภาคเหนือตอนล่างส่งเลือดมารับการตรวจจำนวน 42 โรงพยาบาล ทำการตรวจตัวอย่างเลือดของคู่สามีภรรยาจำนวนกว่า 2,000 คู่ ต่อปี (แผนภูมิที่ 1) ทำการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด เพื่อให้ทราบว่าเด็กในครรภ์เป็นโรคหรือไม่ จำนวนกว่า 120 คู่ ต่อปี (แผนภูมิที่ 2)

 

 

ในส่วนของงานบริการวิชาการ ได้จัดประชุมวิชาการธาลัสซีเมียภาคเหนือตอนล่างเป็นประจำทุกปี ซึ่งในปีนี้นับเป็น
ครั้งที่ 13 แล้ว โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมหาวิทยาลัยมาเป็นวิทยากรให้ความรู้ที่ทันสมัยแก่บุคลากรสาธารณสุขในเขตภาคเหนือตอนล่างที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของงานสนับสนุนการผลิตบัณฑิต หน่วยวิจัยธาลัสซีเมีย
เป็นสถานที่ศึกษาดูงานด้านระบบการควบคุมโรค และเทคโนโลยีชีวภาพ ให้แก่นิสิตแพทย์ และนิสิตคณะต่าง ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นที่ปฏิบัติงานวิจัยของนิสิตระดับปริญญาโท และเอก ที่เกี่ยวข้องกับโรคธาลัสซีเมียภายในมหาวิทยาลัย ในส่วนของงานวิจัย ได้ดำเนินงานวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมีย ปีละ
1-2 โครงการ อย่างต่อเนื่องทุกปี

 

          หน่วยปลูกถ่ายไขกระดูก เริ่มดำเนินการมาเป็นเวลา 6 ปี ในส่วนของงานบริการ ได้ให้การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งไขกระดูก ที่ถูกส่งตัวมาจากโรงพยาบาลต่าง ๆ ในเขตภาคเหนือ ด้วยวิธีปลูกถ่าย
ไขกระดูกชนิดที่ใช้ไขกระดูกของผู้ป่วยเอง จำนวนทั้งสิ้น 32 ราย ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาแสดงดังแผนภูมิที่ 3

 

 

ผลการรักษาโดยรวมเป็นที่น่าพอใจ ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตภายใน 100 วันแรกหลังการปลูกถ่าย มีโรคกลับเป็นซ้ำทั้งสิ้น
8 ราย เสียชีวิต 6 ราย ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่แข็งแรงดี โดยไม่มีโรคกลับเป็นซ้ำทั้งสิ้น 23 ราย การรักษาผู้ป่วยด้วยวิธี
ปลูกถ่ายไขกระดูกดังกล่าวยังสามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนนิสิตแพทย์ และแพทย์ประจำบ้าน
ในส่วนของงานวิจัย ปัจจุบันได้ดำเนินโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการรักษาโดยการปลูกถ่ายไขกระดูกไปแล้ว
2 โครงการ ตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว 1 โครงการ

 

รางวัลและผลงานเด่น

ในด้านงานวิจัยได้รับการยอมรับในวงการวิชาการ และได้รับรางวัลจากการนำเสนอผลงานวิจัยในเวทีต่าง ๆ
อย่างต่อเนื่องได้แก่

  • รองชนะเลิศอันดับ 1 oral presentation กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ นเรศวรวิจัยครั้งที่ 7 พ.ศ2554
  • ผลงานวิชาการดีเด่น oral presentation ประชุมสัมมนาวิชาการธาลัสซีเมียแห่งชาติ ครั้งที่ 18 พ.ศ.2555
  • ผลงานวิชาการดีเด่น oral presentation ประชุมสัมมนาวิชาการธาลัสซีเมียแห่งชาติ ครั้งที่ 19 พ.ศ.2556

ในด้านงานบริการได้รับการรับรองมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการ ISO 15189 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงระบบบริการที่มีคุณภาพ   

 

 

                                                                                                                           รศ.นพ.พีระพล วอง

                                                                                                                        16 พฤศจิกายน 2558

 
    จัดการเว็บไซต์
  © 2024 Faculty of Medicine Naresuan University.thrights reserved. (Support web browser for Google Chrome, IE11, Mozilla Firefox)